โจ ไบเดน ประธานาธิบดีป้ายแดงของสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศขู่ คว่ำบาตร หลังเหตุ รัฐประหารเมียนมา และการจับกุมนาง อองซานซูจี ไบเดนขู่คว่ำบาตรเมียนมา – เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว BBC รายงานว่า นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ออกมาขู่คว่ำบาตรประเทศเมียนมา หลังจากกองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมตัวนาง อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ในข้อหาโกงการเลือกตั้ง และ ก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดยในคำแถลงการของไบเดน
ระบุว่า กองทัพไม่ควรหาโอกาสที่จะเปลี่ยนความต้องการของประชาชน หรือ ลบล้างผลการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรม ซึ่งผู้นำสหรัฐฯ ยังได้ประกาศกร้าวอีกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาจะลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตย ในยามที่ประชาธิปไตยถูกคุกคาม
ขณะที่ สหประชาชาติ หรือ UN ได้ออกมาประณามเหตุการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมที่ตามรายงานระบุว่ามีอย่างน้อย 45 ราย นอกจากผู้นำในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ EU ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องภายใน พร้อมระบุว่าตนเป็นกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากที่อาจจะมีชาวเมียนมาอพยพ หลังเหตุรัฐประหาร
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดี ของ นาง อองซานซูจี ชนะ เลือกตั้ง อย่างเป็นทางการ หลังจากที่กวาดนั่งในรัฐสภาไปกว่า 364 ที่ จาก 412 ที่นั่ง ถือเป็นชัยชนะที่ถล่มทลาย เหนือพรรคตรงข้ามอย่าง พรรคสหสามัคคีและการพัฒนาหรือยูเอสดีพี พรรคฝ่ายค้านสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพได้ที่นั่ง 24 ที่นั่ง
พม่ารัฐประหาร – นับเป็นข่าวใหญ่ของวันนี้ เมื่อ กองทัพเมียนมารัฐประหารแบบยึดอำนาจโดยจับตัวนางอองซานซูจี และคณะผู้นำอื่น ๆ ของเมียนมาที่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพรรคของนางอองซานซูจีเป็นฝ่ายชนะ
การกระทำของกองทัพเมียนมาอ้างว่าการเลือกตั้งมีการทุจริต จึงต้องปฏิการดังกล่าว ล่าสุดในกระแสเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย #รัฐประหาร และ #Savemyanmar ก็ได้ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนาน เพิ่งจะโผล่เงา ได้รัฐบาลพลเรือนมาปกครองในไม่กี่ปีให้ลง
ด้าน ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะก้าวหน้า ได้ทวีตข้อความระบุว่า “การรัฐประหารในพม่าเป็นสัญญานอันตรายของการขัดขวางกระแสลมแห่งประชาธิปไตยในภูมิภาค ตราบใดที่หลักการรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งอยู่เหนือกองทัพ ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ รัฐประหารโดยกองทัพย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เสียดายความคืบหน้าสู่ประชาธิปไตยที่ประชาชนพม่าร่วมกันสร้างขึ้นมา
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนชาวพม่าผู้เชื่อมั่นในหลักประชาธิปไตย นักการเมือง นักประชาธิปไตย นักเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จะยืดหยัดต่อสู้กับเผด็จการ และนำพาประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยให้ได้ในที่สุด”
ย้อนอดีต รัฐประหาร ในประเทศ “เมียนมา” รัฐประหารเมียนมา มีมาแล้วกี่ครั้ง
1 ก.พ. 64 คณะ รัฐประหาร เมียนมา ได้ทำการประกาศสภาวะฉุกเฉิน โดยจะทำการปกครองประเทศเป็นระยะเวลา 1 ปี และการรัฐประหารในอดีตเป็นอย่างไร รัฐประหาร เมียนมา – หลังจากได้รับเอกราช ประเทศเมียนมา (หรือพม่าในขณะนั้น) ก็มีนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศที่ชื่อ อู้นุ ที่เป็นผู้นำสูงสุดระหว่างปี 2491-2499 ก่อนจะลาบวชแล้วกลับมารับตำแหน่งคำรบสองระหว่างปี 2500-2501 และรับตำแหน่งเป็นหนที่สาม ระหว่างปี 2503-2505
อู้นุ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ซึ่งเขาประกาศนโยบายผ่อนปรนให้ชนกลุ่มน้อย และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเกิดความไม่พอใจ รวมถึงมีความตึงเครียดทางการทหารและการลุกฮือของชนกลุ่มน้อย
จนกระทั่งในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 พลเอก เนวี่น ได้ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล และ ระกาศตั้งพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าเพื่อนำประเทศเข้าสู่ลัทธิสังคมนิยมแบบเต็มตัว โดยปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึกจนถึง พ.ศ. 2517 จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมแห่งสหภาพพม่า
เนวี่น ปกครองพม่ายาวนานถึง 26 ปี จนกระทั่ง วันที่ 8 ส.ค. พ.ศ.2531 หรือ ค.ศ.1988 (อันเป็นที่มาของชื่อ การก่อการกำเริบ 8888) เหล่านักศึกษาในย่างกุ้งลุกฮือประท้วงการปกครองของรัฐบาลเนวิ่น ก่อนที่จะดึงมวลชนจากหลากหลายอาชีพทั่วประเทศมาร่วมการประท้วง มีการปะทะกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐจนมีผู้บาดเจ็บ ล้มตายเป็นจำนวนมาก
จนกระทั่งวันที่ 18 ก.ย. พ.ศ.2531 พลเอกอาวุโส ซอมอง ได้ก่อการรัฐประหาร ประกาศกฎอัยการศึก ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 และจัดตั้งสภาสันติภาพและสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (สลอร์ก) ด้วยเหตุนี้ทำให้การประท้วงทวีความรุนแรงมากขึ้น มีผู้เสียชีวิตแตะหลักหมื่นคน บาดเจ็บนับไม่ถ้วน และสูญหายจำนวนมาก ในขณะที่บางส่วนก็หลบหนีเข้ามายังประเทศไทย ก่อนที่การประท้วงจะยุติลงในเดือน ต.ค. ปีเดียวกันนั้นเอง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป